ในโอกาสเดียวกันนี้ยังได้ทรงพระแสเพิ่มเติมด้วยว่า
          " ตามเกาะต่างๆ มีพืชพรรณอยู่อยู่มากแต่ไม่มีผู้สนใจเท่าไร จึงน่าจะมีการสำรวจพืชพรรณ ตามเกาะด้วย "
         ต่อมาในปี พ.ศ. 2541  ได้พระราชทานแนวทางการปฏิบัติแก่กองทัพเรือในการดำเนินงานกิจกรรมสร้างจิตสำนึกของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ที่เกาะแสมสารว่า ควรพิจารณาปฏิบัติตามรูปแบบของอุทยานแห่งชาติเกาะปอร์เกอรอลส์ และเกาะโคร์ส ที่ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนในปี พ.ศ. 2538 และทรงมีความประทับใจในวิธีการให้ความรู้ความเข้าใจในด้านพันธุ์ไม้และระบบนิเวศต่อเยาวชน ในลักษณะที่เป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิต  อันก่อให้เกิดความรู้สึกผูกพันกับธรรมชาติ

       นอกจากนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ยังได้ฝากงานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลนี้ไว้ต่อกองทัพเรือด้วย โดยมีพระราชกระแสต่อผู้บัญชาการทหารเรือเมือ 31 พฤษภาคม 2544 ว่า "... ให้กองทัพเรือทำงานนี้เพื่อความมั่นคงของประเทศ.."
           อันเนื่องจากพระราชกระแสและพระราชดำริหลายครั้งหลายคราวนี้เอง กองทัพเรือจึงมุ่งหน้าดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ที่เกาะแสมสาร และในส่วนของกิจกรรมสร้างจิตสำนึกแก่เยาวชน กองทัพเรือได้พิจารณาจัดตั้ง
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย  ขึ้นบนฝั่งสัตหีบตรงข้ามเกาะแสมสาร รวมทั้งจัดสร้างสวนพฤกษศาสตร์และเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนเกาะแสมสารเพื่อเป็นสื่อในการสร้างความรู้ความเข้าใจและจิตสำนึกแก่เยาวชนตามแนวทางพระราชดำริ
           ในการนี้ทรงมีพระราชวินิจฉัยเห็นชอบและยังพระราชทานแนวทางการดำเนินงานเพิ่มเติมด้วยว่า

       " ควรให้คนเข้าชมพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่บนฝั่งมากกว่าที่จะไปรบกวนบนเกาะ"
         " ที่เกาะแสมสาร จะทำแบบเกาะปอร์เกอรอลส์ไม่ได้ เพราะเกาะของเราเล็ก ฉะนั้น ควรให้คนมาดูแล้วกลับไป ไม่ให้มีที่ค้าง"
          " เนื้อหาที่จะจัดแสดง (ในพิพิธภัณฑ์) จะต้องให้เป็นการสอนและปรับปรุงให้ใหม่อยู่เสมอ และควรมีงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง"
     

 

 



 

ข้อมูลจากหนังสือโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ : จากยอดเขาถึงใต้ทะเล ธรรมชาติแห่งชีวิต ที่ต้องเรียนรู้ ใช้ประโยชน์ และสร้างจิตสำนึก, พฤษภาคม 2546
ภาพจากจากหนังสือพระราชนิพนธ์ "สวนสมุทร" ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี