บุหงาเซิง

บุหงาแต่งงาน

บุหงาปัตตาน

บุหงาส่าหรี

บุหงาลำเจียก

บุหงาปัตตานี
Goniothalamus  sp.

             เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร  ทรงพุ่มแน่นทึบ ลำต้นมีเปลือกนิ่ม สีขาวอมเทา และมีกลิ่นฉุน เนื้อไม้เปราะ  ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับสองด้านในระนาบเดียวกันของกิ่ง ใบรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 4-8 ซม. ยาว 10-18  ซม. แผ่นใบเรียบ หน้าใบสีเขียวเข้มเป็นมัน หลังใบสีอ่อน ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีขาวนวล  ออกตามลำต้น กิ่ง กลีบเลี้ยงขนาดเล็ก กลีบดอกมี 6 กลีบ เรียงเป็นสองชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบชั้นในสั้นและเรียงตัวอัดเป็นรูปสามเหลี่ยม กลีบชั้นนอกรูปรีแกมรูปหอก ปลายแหลม กว้าง  2 ซม. ยาว 3-4  ซม. ปลายกลีบดอกไม่บานแยกจากกัน ดอกอ่อนสีเขียว เมื่อบานเต็มที่สีขาวนวล มีกลิ่นหอมแบบเปรี้ยวๆ ดอกหอมในช่วงเย็น ออกดอกตลอดปี ผล เป็นผลกลุ่ม มี 8-14 ผล รูปรี เมื่อแก่มีสีดำ
                   ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง  ชอบที่ร่มรำไร และดินชุ่มชื้นระบายน้ำได้ดี

หมายเหตุ: บุหงาปัตตานีมีลักษณะที่แตกต่างจากบุหงาลำเจียก คือ เปลือกลำต้นมีสีขาวมากกว่า แตกกิ่งเป็นพุ่มแน่นมากกว่า ใบใหญ่หนา เขียวเข้ม และค่อนข้างกลมมากกว่า ออกดอกมากกว่า และเมื่อดอกบานแล้ว ปลายกลีบดอกไม่บานแผ่แยกออกจากกัน ดอกมีกลิ่นหอมเย็นกว่า

ที่มาของข้อมูล :  ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ; ไม้ดอกหอม (เล่ม 1)