กลับหน้าหลัก : บทนำ

 

ความรู้ทั่วไป

 

สรรพคุณสมุนไพรแบ่งตามกลุ่มอาการ

กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

  กานพลู

 

  กระวาน

 

  กุ่มน้ำ

 

  ดีปลี

 

  เทพธาโร

 

  พริกไทย

 

  ไพล

 

  มะรุม

 

  เร่ว

 

  ว่านน้ำ

      โหระพา
      อบเชยเทศ
 

  อบเชยต้น




















































 

     

กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ

ว่านน้ำ

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Acorus calamus  L.

ชื่อสามัญ  Mytle Grass, Sweet Flag

วงศ์  Araceae

ชื่ออื่น :  คงเจี้ยงจี้ ผมผา ส้มชื่น ฮางคาวน้ำ ฮางคาวบ้าน (ภาคเหนือ) ตะไคร้น้ำ (เพชรบุรี)  ทิสีปุตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ว่านน้ำ ว่านน้ำเล็ก ฮางคาวผา (เชียงใหม่)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ว่านน้ำมีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดินลักษณะเป็นแท่งค่อนข้างแบน มีใบแข็งตั้งตรง รูปร่างแบนเรียวยาวคล้ายใบดาบฝรั่ง ปลายใบแหลม แตกใบเรียงสลับซ้ายขวาเป็นแผง ใบค่อนข้างฉ่ำน้ำ ดอกมีสีเขียวมีขนาดเล็กออกเป็นช่อ มีจำนวนมากอัดกันแน่นเป็นแท่งรูปทรงกระบอก มีก้านช่อดอกลักษณะคล้ายใบ ทั้งใบ เหง้า และรากมีกลิ่นหอมฉุน ชอบขึ้นตามที่น้ำขัง หรือที่ชื้นแฉะ
ส่วนที่ใช่ :  ราก เหง้า น้ำมันหอมระเหยจากต้น

สรรพคุณ :

  • ราก
    รับประทานมาก ทำให้อาเจียน แต่มีกลิ่นหอม รับประทานน้อย เป็นยาแก้ปวดท้อง ธาตุเสีย บำรุงธาตุ แก้จุก ขับลมในลำไส้ ปรุงลงในยาขมต่างๆ ทำให้ระงับอาการปวดท้องได้ดี
    -  ในว่านน้ำมีสารชนิดหนึ่งเรียกว่า อาโกริน
    acorine มีรสขมและแอลคาลอยด์ คาลาไมท์ อยู่ในนี้เป็นยาแก้บิด เป็นยารักษาบิดของเด็ก (คือมูกเลือด) และหวัดลงคอ (หลอดลมอักเสบ) ได้อย่างดี เป็นยาขับเสมหะอย่างดี ชาวอินเดียใช้ฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ เคี้ยว 2-3 นาที แก้หวัดและเจ็บคอ และใช้ปรุงกับยาระบายเพื่อเป็นยาธาตุด้วยในตัว
    -  เป็นยาเบื่อแมลงต่างๆ เช่น แมลงวัน
    -  เป็นยาแก้เส้นกระตุก แก้หืด ขับเสมหะ แก้ปวดศีรษะ แก้
    Hysteria และ Neuralgia แก้ปวดกล้ามและข้อ แก้โรคผิวหนัง

  • เหง้า - ใช้ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้โรคผิวหนัง เป็นยาหอม

  • น้ำมันหอมระเหยจากต้น - แก้ชัก เป็นยาขมหอม ขับแก๊สในท้อง ทำให้เจริญอาหาร ช่วยการย่อย

วิธีใช้และปริมาณที่ใช้ :

  • บำรุงธาตุ - ใช้เหง้าสด 9-12 กรัม หรือแห้ง 3-6 กรัม ชงด้วยน้ำร้อน 2 ถ้วยแก้ว ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว ก่อนอาหารเย็น ติดต่อกันจนกว่าธาตุจะปกติ

  • แก้ปวดท้องและจุกแน่น -ใช้รากว่านน้ำ หนัก 60 กรัม โขลกให้ละเอียด ชงลงในน้ำเดือด 420 ซีซี. รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง

  • เป็นยาดูดพิษ แก้อาการอักเสบของหลอดลมและปอด - ใช้รากฝนกับสุรา เจือน้ำเล็กน้อย ทาหน้าอกเด็ก

  • เป็นยาแก้ไอ -  ใช้ชิ้นเล็กๆ ของรากว่านน้ำแห้ง อมเป็นยาแก้ไอ มีกลิ่นหอมระเหยทางลมหายใจ

  • ป็นยาถอนพิษของสลอด และแก้โรคลงท้องปวดท้องของเด็ก - ใช้รากว่านน้ำเผาจนเป็นถ่าน ทำผงรับประทานมื้อละ 0.5 ถึง 1.5 กรัม ใช้ใบว่านน้ำสดตำละเอียดผสมน้ำสุมศีรษะแก้ปวดศีรษะได้ ตำพอกแก้ปวดกล้ามและข้อ ตำรวมกับชุมเห็ดเทศ แก้โรคผิวหนัง

  • เป็นยาขมหอม เจริญอาหาร ขับแก๊ส ช่วยย่อยอาหาร - ในน้ำมันหอมระเหยมีวัตถุขมชื่อ acorin และมีแป้งและแทนนินอยู่ด้วย ทำเป็นยาชง (1 ใน 10) รับประทาน 15-30 ซีซี. หรือทิงเจอร์ (1 ใน 5) รับประทาน 2-4 ซีซี. ขนาดใช้ 1-4 กรัม

สารเคมี มีน้ำมันหอมระเหย (Calamus oil)  2-4% ในน้ำมันประกอบด้วย Sesquiterpene  เช่น  asarone, Betasalone (มี 70-80 %)  และตัวอื่นๆ ยังมี glucoside รสขมชื่อ acorin