พะยอม
 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Shorea roxburghii  G.Don

วงศ์ DIPTEROCARPACEAE
ชื่อสามัญ : White Meranti
ชื่ออื่น :   กะยอม ขะยอม พะยอมแดง แคน พะยอมทอง ยางหยวก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15 – 30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่ม กลม เปลือกหนา สีน้ำตาลหรือเทา แตกเป็นร่องยาวตามลำต้น ใบ เดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนาน กว้าง 3 – 4 เซนติเมตร ยาว 8 – 10 เซนติเมตร โคนมน ปลายมน หรือหยักเป็นติ่งสั้น ๆ ดอก สีขาว กลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผล มีปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก
           ขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้วและชื้นตลอดจนป่าดิบแล้วทั่วไปแทบทุกภาค สูงจากระดับน้ำทะเล 60 – 1,200 เมตร ออกดอกเดือน ธันวาคม – กุมภาพันธ์ ผลแก่ ประมาณเดือน มีนาคม – เมษายน  ขยายพันธุ์  โดยเมล็ด
ประโยชน์ :  เนื้อไม้ มีลักษณะคล้ายไม้ตะเคียนทอง ใช้ในการก่อสร้างเครื่องเรือน เปลือก มีรสฝาดใช้เป็นยาสมานลำไส้ ดอก ผสมยาแก้ไข้ และยาหอมแก้ลม บำรุงหัวใจ ชัน ใช้ผสมน้ำมันทาไม้ยาเรือฃ