โดย รศ.ดร.วรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล
      ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์
      จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  ..................................................................................

พื้นฐานไบโอดีเซล
          ไบโอดีเซลนับเป็นพลังงานที่นับวันมีความสำคัญอย่างยิ่งทั่วโลก ส่วนมากสามารถผลิตได้จากน้ำมันพืชหลายชนิด เช่น ในประเทศแถบเอเชียใช้ น้ำมันปาล์ม ในขณะทั่วโลกปริมาณที่ใช้มากกลับเป็นน้ำมันถั่วเหลือง เป็นที่คาดหวังว่าไบโอดีเซลจะสามารถนำมาทดแทนปิโตรเลียมดีเซลในอนาคต พบว่าประเทศสหรัฐอเมริกาสามารถผลิตน้ำมันได้เพียงหนึ่งในสามส่วนที่ใช้กันอยู่ ซึ่งทำให้ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเกิดความตระหนักสนใจเรื่องนี้จนประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติในการศึกษาวิจัยเพื่อหาแหล่งพลังงานทดแทน เช่นเดียวกับประเทศไทย
          ในประเทศสหรัฐอเมริกาสามารถผลิตไบโอดีเซลได้จากน้ำมันพืชที่ใช้แล้วจากการปรุงอาหาร คิดเป็นปริมาณทั้งหมด 3 พันล้านแกลลอนต่อปี ซึ่งนับเป็นเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ของความต้องการดีเซลภายในประเทศ 90 เปอร์เซ็นต์ของไบโอดีเซลผลิตได้จากถั่วเหลือง ในขณะที่ 10 เปอร์เซ็นต์ผลิตได้จากน้ำมันที่ใช้แล้ว
ไบโอดีเซลได้รับการสนับสนุนและคาดหวังว่าจะเป็นทางรอดทางหนึ่งของประเทศ แต่จริงๆแล้วยังมีผู้คนน้อยมากที่จะพูดถึงความสามารถและศักยภาพที่แท้จริงของไบโอดีเซลที่จะทดแทนน้ำมันดีเซล เราควรหาพลังงานประหยัดจากหลักพื้นฐานสำคัญคือ การอนุรักษ์ ประสิทธิภาพ และต้องมีไม่มีวันหมด เช่นเดียวกับพลังงานแสงอาทิตย์ ลม และเชื่อว่าเทคโนโลยีของนักวิทยาศาสตร์จะช่วยพวกเราแก้ปัญหาที่ได้ดังกล่าวทั้งหมดนี้
เชื่อไหมว่าการผลิตและการใช้ไบโอดีเซลจากพืชสามารถสร้างปัญหารุนแรงได้เช่นกัน รวมถึงสามารถทำให้เกิดความแห้งแล้งทั้งดินและน้ำ เกิดมลพิษของน้ำและอากาศ มลพิษจากโลกร้อน มลพิษทางพันธุกรรมจากการสร้างพืชตัดต่อท่งพันธุกรรม ความหิวโหย และการสูญเสียพลังงานรวม จนถึงความปลอดภัยของชาติ

น้ำมันสำหรับประชากรมนุษย์หรือรถยนต์
         
มนุษย์ได้มีการพัฒนากระบวนการและพื้นที่เกษตรมาอย่างดีมาเป็นเวลานานแล้ว เช่นเดียวกันมนุษย์ก็เป็นผู้ทำลายสิ่งที่ได้สร้างขึ้นเหล่านี้ได้ทุกวัน เมื่อพูดถึงพลังงานทางชีวภาพ คำถามเกิดขึ้นมาคือ เราจำเป็นเพียงใดที่จะนำน้ำมันจากพืชมาใช้สำหรับรถยนต์มากกว่าที่จะเลี้ยงประชากรของโลก
การผลิตไบโอดีเซลจากพืชจะต้องใช้พื้นที่เพาะปลูกปริมาณมากและใช้พลังงานมหาศาล ในประเทศสหรัฐอเมริกาการผลิตถั่วเหลืองต้องใช้ปุ๋ยที่ได้จากกาซธรรมชาติ ยาปราบวัชพืชที่ใช้ในแปลงถั่วเหลืองจะต้องผลิตจากพลังงานปิโตรเลียม และยังต้องใช้แหล่งพลังงานต่างๆ เช่นเครื่องกลในฟาร์ม รถยนต์ขนส่ง เครื่องทำน้ำมันให้บริสุทธิ์ และแหล่งน้ำธรรมชาติ รวมถึงความเสื่อมโทรมของดิน
          เราอาจต้องใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เกือบ 20 เปอร์เซ็นต์ในการสังเคราะห์แสง เพื่อการทดแทนพลังงานทั้งหมดในการผลิตน้ำมันพืชเพื่อใช้เป็นพลังงานชีวภาพ และข้อเท็จจริงแล้วพื้นที่การเพาะปลูก น้ำ ดินที่มีคุณภาพ จะไม่เพียงพอเพื่อการเพาะปลูกให้เพียงพอสำหับโลกของเราในการผลิตพืชน้ำมันจนเป็นพลังงานทดแทนให้กับโลก ความร้อนของโลกก็จะรุนแรงขึ้นได้หากพื้นที่การเพาะปลูกลดลงทั่วโลก

ไบโอดีเซลจากสาหร่าย
         
มีการยกประเด็นการใช้ไบโอดีเซลจากสาหร่าย ในท่ามกลางข้อสงสัยจากการใช้ไบโอดีเซลจากถั่วเหลืองดังกล่าว อย่างไรก็ตามไบโอดีเซลจากสาหร่าย ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการวิจัยเบื้องต้นนั้นอาจสามารถผลิตได้มวลชีวภาพได้สูงเพื่อโครงการการผลิตพลังงานเหลวที่มีความแน่นอนกว่าการผลิตเอทานอล ไบโอดีเซลจากถั่วเหลือง หรือมวลชีวภาพต่างๆที่เป็นของเสีย การผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่ายมีความเป็นไปได้แต่ปัญหาหลักอยู่ที่ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์เมื่อเทียบกับราคาของดีเซล นอกจากนี้แล้วปัญหาสำคัญอยู่ที่การนำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ กระบวนการเลี้ยงสาหร่ายจำเป็นต้องมีคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณสูง หากนำคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงงานมาใช้เลี้ยงสาหร่าย จำเป็นต้องทำให้ได้คาร์บอนไดออกไซด์บริสุทธิ ซึ่งสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากในการทำให้บริสุทธ์ ด้วยเทคนิค “clean coal gasification systems”

มลพิษและการเตือนภัย
          การเผาผลาญไบโอดีเซลให้ความร้อนสูงกว่า และปริมาณของไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) ที่ปล่อยออกมาสูงกว่าดีเซลโดยทั่วไปเกือบ 3 เท่าครึ่ง เปรียบเทียบกับแกซโซลีน นอกจากนี้แล้วไบโอดีเซลโดยทั่วไปทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการเผาผลาญพลังงานหนึ่งเทียบเท่ากับน้ำมัน

ปัญหาจากเทคโนโลยีชีวภาพ
          พืชตัดต่อพันธุกรรมเป็นสิ่งมีชีวิตที่สนใจกันเป็นอย่างยิ่งเพื่อสร้างมาใช้ในการผลิตพลังงานทดแทนต่างๆ ไม่ว่าจะป็นหญ้าที่ใช้เป็นมวลชีวภาพในกระบวนการผลิตเอทานอล หรือพืชให้เมล็ดน้ำมันในการผลิตไบโอดีเซล อย่างไรก็ตามพืชเหล่านี้ได้ถูกวิพากวิจารณ์มากมายในการนำมาปลูก ด้วยเหตุที่ว่ายังไม่ได้ทดสอบสำหรับความปลอดภัยในระยะยาว และมีประวัติในการแพร่กระจาย ไม่สามารถควบคุมได้ ต่อพืชที่ปลูกใกล้เคียง พบว่า ถั่วเหลือง 87 เปอร์เซ็นต์ในสหรัฐอเมริกาเป็นพืชตัดต่อพันธุกรรม การสร้างพืชตัดต่อพันุกรรมเพื่อให้ทนทานต่อยาปราบวัชพืชชนิด round up ของบริษัท Monsanto ปรากฏว่าทำให้เพิ่มการใช้ยาปราบวัชพืช เพิ่มขึ้นประมาณ 13 เปร์เซนต์โดยเฉลี่ย นอกจากนี้ยังพบว่ายาชนิดนี้อันตรายกว่าที่เคยรู้ คือสามารถฆ่าสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกตายได้

ราคาของน้ำมันไบโอดีเซลถูกจริงหรือ ?
          เนื่องจากปัญหาเรื่องพลังงานสุทธิที่ได้ ทำให้ราคาของไบโอดีเซลในความเป็นจริงแล้วสูงกว่าน้ำมันดีเซลหรือแก๊ซโซลีน การให้เงินช่วยเหลือจากภาครัฐจึงมีความจำเป็น เพื่อให้ราคาของน้ำมันไบโอดีเซลมีความสามารถที่จะแข่งขันกับน้ำมันดีเซลได้ ในสหรัฐอเมริกาให้ความช่วยเหลือเพื่อให้ราคาของน้ำมันไบโอดีเซลสามารถแข่งขันกับดีเซลได้ ในปี 2004 จึงมีการประมาณการว่า เมื่อใช้น้ำมันไบโอดีเซลจากถั่วเหลืองแล้วต้องใช้เงินสนับสนุนถึง 1.6 พันล้านดอลล่าร์ และเพิ่มขึ้นเป็น 2.5 พันล้านดอลล่าร์ในปี 2005 นอกจากนี้การผลิตน้ำมันไบโอดีเซลยังมีราคาในส่วนของต้นทุนในการปลูกพืชน้ำมันที่ยังไม่ได้คำนวณ เช่น ราคาจากการปรับปรุงที่ดินเพื่อปลูกพืช และราคาจากอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติ ซึ่งใช้ในกระบวนการผลิตถั่วเหลือง

          ดังนั้นการใช้ไบโอดีเซลเป็นเพียงการแก้ปัญหาระยะสั้นที่ทำให้มีความปลอดภัย และลดการพึ่งพาน้ำมันดีเซลลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การลงทุนเม็ดเงินจำนวนมากไปกับเทคโนโลยีที่ไม่ทำให้เข้าใกล้เทคโนโลยีที่สะอาดอย่างแท้จริงไม่ใช่ทางแก้ปัญหา แต่เปรียบเหมือนการสร้างกำแพงขวางการพัฒนาไปสู่พลังงานที่สะอาดให้ช้าลง ดังนั้นในระยะยาวแล้ว การจัดระเบียบเมือง และการขนส่งที่อาศัยมนุษย์เป็นหลักมากกว่าการใช้รถยนต์ ด้วยการเน้นให้ประชาชนขี่จักรยาน หรือใช้ระบบขนส่งมวลชนให้มากขึ้น จึงน่าจะเป็นทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด

ไบโอดีเซลทำให้ใช้พลังงานน้อยลงจริงหรือ ?
          การผลิตไบโอดีเซลมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพลังงานทางเลือกเพื่อลดการบริโภคน้ำมันดีเซลลง แต่ในความเป็นจริงแล้วในขั้นตอนการปลูกพืชพลังงานต้องใช้ปุ๋ย ซึ่งมาจากก๊าซธรรมชาติอย่างมาก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการเสื่อมโทรมของดิน ดังนั้นทางออกเพื่อแก้ปัญหาด้านพลังงานอย่างยั่งยืน คือ การออกกฏหมายเพื่อให้มีการประหยัดพลังงาน และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้พลังงานที่สะอาด และไม่มีวันหมดไป เช่น พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์
          ดังนั้นการใช้ไบโอดีเซลเป็นเพียงการแก้ปัญหาระยะสั้นที่ทำให้มีความปลอดภัย และลดการพึ่งพาน้ำมันดีเซลลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การลงทุนเม็ดเงินจำนวนมากไปกับเทคโนโลยีที่ไม่ทำให้เข้าใกล้เทคโนโลยีที่สะอาดอย่างแท้จริงไม่ใช่ทางแก้ปัญหา แต่เปรียบเหมือนการสร้างกำแพงขวางการพัฒนาไปสู่พลังงานที่สะอาดให้ช้าลง ดังนั้นในระยะยาวแล้ว การจัดระเบียบเมือง และการขนส่งที่อาศัยมนุษย์เป็นหลักมากกว่าการใช้รถยนต์ ด้วยการเน้นให้ประชาชนขี่จักรยาน หรือใช้ระบบขนส่งมวลชนให้มากขึ้น จึงน่าจะเป็นทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด

 


สนใจติดต่อขอสมัครสมาชิกได้ที่ : ชมรมคณะปฏิบัติงานวิทยาการ อพ.สธ.
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สวนจิตรลดา ถนนราชวิถี เขตดุสิต  กรุงเทพ 10303
โทร. - โทรสาร. 0-2282 1850 , 0-2282 0665